วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การบ้าน

ปฏิบัติการที่ 4 การเขียนโปรแกรมภาษา PHP (ต่อ)

ข้อ.9
Q : จาก logical.php ให้นิสิตเขียนโค้ดเพิ่มเติมเพื่อแสดงค่าความจริงที่ว่า ($a+$b) มากกว่าหรือเท่ากับ($c+$d)หรือไม่








ข้อ.12

Q : จากตัวอย่างใน string.php ให้นิสิตเขียนโค้ดใหม่ โดยใช้ชื่อของนิสิตแทนชื่อในตัวอย่างข้อที่10 แล้วลองปรับเปลี่ยนให้การเรียงชื่อให้แสดงผลออกมาตามตัวอย่างนี้ Jaideemak Boonchai,Mr.









ข้อ.15

Q : จงเขียนโปรแกรมเพื่อคำนวณ NDVI จากสูตรต่อไปนี้ NDVI =(NIR-VR)/(NIR+VR) กำหนดให้ค่าระดับสีเทาของแบนด์ NIR (Near Infrered) มีค่าเท่ากับ 200 และ ค่าระดับสีเทาของ VR (Visible red)มีค่าเท่ากับ 40













การบ้าน
ปฏิบัติการที่ 4 การเขียนโปรแกรมภาษา PHP
ข้อ 6.

Q : จากประสบกาณ์ที่นิสิตเคยเรียนมาในรายวิชาการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ นิสิตคิดว่าตัวดำเนินการทั้งสองลักษณะมักจะใช้ในสถานการณ์ใด

ตอบ ตัวดำเนินการ คือ เครื่องหมายสำหรับกระทำกับข้อมูลอย่างน้อยที่สุด 2 ชุดมากระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น บวก ลบ เชื่อมต่อ เปรียบเทียบ ทดสอบค่า เป็นต้น

-ตัวดำเนินการแบบแรก(ในข้อ 2)หรือตัวดำเนินการด้านคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operators) น่าจะใช้สำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตัวเลขตามเงื่อนไขต่างๆ เช่น โปรแกรมการคิดเงินเดือน โปรแกรมการตัดเกรดคะแนนสอบ โปรแกรมการคำนวณพื้นที่วงกลมและสี่เหลี่ยมพื้นผ้า(ในปฎิบัติที่ 3 ) เป็นต้น

-ตัวดำเนินการแบบที่สอง(ในข้อ 4)หรือตัวดำเนินการทางด้านการเปรียบเทียบ (Comparison Operators) น่าจะใช้การแปรียบเทียบ ซึ่งจะเปรียบเทียบนิพจน์ 2 นิพจน์ เพื่อทดสอบ หรือสร้างเงื่อนไข โดยจะให้ผลลัพธ์เป็นจริง (True) และเป็นเท็จ (False) มักจะใช้คู่กับตัวดำเนินการทางด้านตรรกะ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ
การบ้าน
ปฏิบัติการที่ 3 โปรแกรมภาษา PHP

ข้อ.4
Q:ให้ลองเพิ่มโค้ดให้แสดงผลในเบราเซอร์"ผมชื่อนาย Robert อายุ 25 ปี"โดยใช้ค่าตัวแปรในการแสดงผล









ข้อ. 7.

Q:ให้นิสิตเขียนโปรแกรมการคำนวณพื้นที่ศี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีความกว้าง 45 ความยาว 68 โดยให้นิสิตลองตั้งชื่อตัวแปรด้วยตนเอง แล้วให้ echo ผลออกมา












ข้อ.14

Q: ให้นิสิตลองเขียนโปรแกรมเพื่อคำนวณพื้นที่ของวงกลม และเส้นรอบวงของวงกลม โดยกำหนดให้ค่า PI=3.14159265 แล้วกำหนดตัวแรรัศมีเป็น 15 หน่วย



วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันที่14 พฤศจิกายน.."วันพระบิดาแห่งฝนหลวง"(ใครยังไม่ทราบลองมาอ่านดูนะค่ะ)

*****มีใครทราบบางค่ะ.....ว่าวันที่14 พฤศจิกายน เป็น"วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อนๆบางคนก็คงทราบกันบ้างแล้วแต่ก็ยังคงมีเพื่อนๆอีกหลายคนที่ไม่ทราบว่าวันนี้คือวันอะไร....เราจึงไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเพื่อจะได้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมแก่เพื่อนๆ ที่ยังไม่ทราบ.....



ความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง

*****โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และ เกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน


*****ตามที่ทรงเล่าไว้ใน จาก พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้


*****การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๒ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ - ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน ๑ ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้



*****เพื่อแสดงความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ที่มีต่อปวงชนชาวไทย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" และกำหนดให้วันที่ ๑๔ พฤศจิกายนของทุกปี เป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ให้ประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดี ชื่นชมในพระบารมี และร่วมกันถวายสดุดีเฉลิมพระเกียรติติดต่อกันไปทุกปี



วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

GIS Component



GIS Component



องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printer หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน

2. โปรแกรม คือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ

3. ข้อมูล คือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร

4. บุคลากร คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS

5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง





ที่มา http://www.gisthai.org/about-gis/compo-gis.html

Geographic Information System:GIS

กลับมาสู่การเขียนบล็อกอีกครั้ง.......ในภาคเรียนที่2
เราจะมาเริ่มต้นโดยจะเริ่มกล่าวถึงคำว่า Geographic Information System :GIS จากที่เราเรียนมาจะพบว่าความหมายของคำว่าGeographic Information System :GIS จะมีหลากหลายและซึ่งจะขึ้นอยู่กับผู้บัญญัติขึ้น จากการศึกษาค้นคว้าพอจะสรุปได้ว่า............

ความหมายของGeographic Informational System : GIS
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Informational System : GIS) คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์และเป็นชุดของเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพใช้เพื่อการรวบรวม จัดเก็บและนำเข้าข้อมูลและสารสนเทศหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ศึกษาออกมาใช้ปรับเปลี่ยนและการเตรียมข้อมูลในการวิเคราะห์ ตลอดจนเสนอผลลัพธ์โดยการแสดงผลของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นโลก ซึ่งอ้างอิงจากจุดพิกัดทางภูมิศาสตร์ ศึกษาความเหมาะสมในการวางแผนการใช้ทรัพยากรแต่ละชนิด เช่นข้อมูลพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร คือ ชุดดิน ลักษณะภูมิประเทศ ความลาดชัน ธรณวิทยา แหล่งน้ำ การกระจายของน้ำ การใช้ที่ดิน ชนิดพืชและการจัดการข้อมูลที่มีพิกัดแน่นอน นอกจากนี้ยังมีแผนที่ลายเส้น เช่น ถนน ทางน้ำ หรือเส้นระดับความสูง นำมาซ้อนทับ และวิเคราะห์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้วิเคราะห์ตัดสินใจได้โดยง่ายและรวดเร็ว