วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของภาษา PHP

PHP เป็นภาษาจำพวก scripting language คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่าสคริปต์ (script) และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปลชุดคำสั่ง ตัวอย่างของภาษาสคริปก็เช่น JavaScript, Perl เป็นต้น ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่นๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถ สอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงกล่าวว่า PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า server-side หรือ HTML-embedded scripting language เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเอกสารแบบ Dynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีลูกเล่นมากขึ้น

ถ้าใครรู้จัก Server Side Include (SSI) ก็จะสามารถเข้าใจการทำงานของ PHP ได้ไม่ยาก สมมุติว่า เราต้องการจะแสดงวันเวลาปัจจุบันที่ผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซด์ในขณะนั้น ในตำแหน่ง ใดตำแหน่งหนึ่งภายในเอกสาร HTML ที่เราต้องการ อาจจะใช้คำสั่งในรูปแบบนี้ เช่น ไว้ในเอกสาร HTML เมื่อ SSI ของ web server มาพบคำสั่งนี้ ก็จะกระทำคำสั่ง date.pl ซึ่งในกรณีนิ้ เป็นสคริปต์ที่เขียนด้วยภาษา perl สำหรับอ่านเวลาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วใส่ค่าเวลาเป็นเอาพุท (output) และแทนที่คำสั่งดังกล่าว ลงในเอกสาร HTML โดยอัตโนมัติ ก่อนที่จะส่งไปยังผู้อ่านอีกทีหนึ่ง

อาจจะกล่าวได้ว่า PHP ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อแทนที่ SSI รูปแบบเดิมๆ โดยให้มีความสามารถ และมีส่วนเชื่อมต่อกับเครื่องมือชนิดอื่นมากขึ้น เช่น ติดต่อกับคลังข้อมูลหรือ database เป็นต้น

PHP ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1994 จากนั้นก็มีการพัฒนาต่อมาตามลำดับ เป็นเวอร์ชั่น 1 ในปี 1995 เวอร์ชั่น 2 (ตอนนั้นใช้ชื่อว่า PHP/FI) ในช่วงระหว่าง 1995-1997 และเวอร์ชั่น 3 ช่วง 1997 ถึง 1999 จนถึงเวอร์ชั่น 4 ในปัจจุบัน

PHP เป็นผลงานที่เติบโตมาจากกลุ่มของนักพัฒนาในเชิงเปิดเผยรหัสต้นฉบับ หรือ OpenSource ดังนั้น PHP จึงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ Apache Webserver ระบบปฏิบัติอย่างเช่น Linux หรือ FreeBSD เป็นต้น ในปัจจุบัน PHP สามารถใช้ร่วมกับ Web Server หลายๆตัวบนระบบปฏิบัติการอย่างเช่น Windows 95/98/NT เป็นต้น

รายชื่อของนักพัฒนาภาษา PHP ที่เป็นแก่นสำคัญในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

  • Zeev Suraski, Israel
  • Andi Gutmans, Israel
  • Shane Caraveo, Florida USA
  • Stig Bakken, Norway
  • Andrey Zmievski, Nebraska USA
  • Sascha Schumann, Dortmund, Germany
  • Thies C. Arntzen, Hamburg, Germany
  • Jim Winstead, Los Angeles, USA
  • Rasmus Lerdorf, North Carolina, USA

เนื่องจากว่า PHP ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัว Web Server ดังนั้นถ้าจะใช้ PHP ก็จะต้องดูก่อนว่า Web server นั้นสามารถใช้สคริปต์ PHP ได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น PHP สามารถใช้ได้กับ Apache WebServer และ Personal Web Server (PWP) สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 95/98/NT

ในกรณีของ Apache เราสามารถใช้ PHP ได้สองรูปแบบคือ ในลักษณะของ CGI และ Apache Module ความแตกต่างอยู่ตรงที่ว่า ถ้าใช้ PHP เป็นแบบโมดูล PHP จะเป็นส่วนหนึ่งของ Apache หรือเป็นส่วนขยายในการทำงานนั่นเอง ซึ่งจะทำงานได้เร็วกว่าแบบที่เป็น CGI เพราะว่า ถ้าเป็น CGI แล้ว ตัวแปลชุดคำสั่งของ PHP ถือว่าเป็นแค่โปรแกรมภายนอก ซึ่ง Apache จะต้องเรียกขึ้นมาทำงานทุกครั้ง ที่ต้องการใช้ PHP ดังนั้น ถ้ามองในเรื่องของประสิทธิ ภาพในการทำงาน การใช้ PHP แบบที่เป็นโมดูลหนึ่งของ Apache จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

ต่อไปเราจะมาทำความรู้จักกับภาษา PHP และทำความเข้าใจการทำงาน รวมถึงคำสั่งพื้นฐานต่าง ๆ


อ้างอิงจาก : http://www.bcoms.net/php/php01.asp

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การบ้าน

ปฏิบัติการที่ 4 การเขียนโปรแกรมภาษา PHP (ต่อ)

ข้อ.9
Q : จาก logical.php ให้นิสิตเขียนโค้ดเพิ่มเติมเพื่อแสดงค่าความจริงที่ว่า ($a+$b) มากกว่าหรือเท่ากับ($c+$d)หรือไม่








ข้อ.12

Q : จากตัวอย่างใน string.php ให้นิสิตเขียนโค้ดใหม่ โดยใช้ชื่อของนิสิตแทนชื่อในตัวอย่างข้อที่10 แล้วลองปรับเปลี่ยนให้การเรียงชื่อให้แสดงผลออกมาตามตัวอย่างนี้ Jaideemak Boonchai,Mr.









ข้อ.15

Q : จงเขียนโปรแกรมเพื่อคำนวณ NDVI จากสูตรต่อไปนี้ NDVI =(NIR-VR)/(NIR+VR) กำหนดให้ค่าระดับสีเทาของแบนด์ NIR (Near Infrered) มีค่าเท่ากับ 200 และ ค่าระดับสีเทาของ VR (Visible red)มีค่าเท่ากับ 40













การบ้าน
ปฏิบัติการที่ 4 การเขียนโปรแกรมภาษา PHP
ข้อ 6.

Q : จากประสบกาณ์ที่นิสิตเคยเรียนมาในรายวิชาการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ นิสิตคิดว่าตัวดำเนินการทั้งสองลักษณะมักจะใช้ในสถานการณ์ใด

ตอบ ตัวดำเนินการ คือ เครื่องหมายสำหรับกระทำกับข้อมูลอย่างน้อยที่สุด 2 ชุดมากระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น บวก ลบ เชื่อมต่อ เปรียบเทียบ ทดสอบค่า เป็นต้น

-ตัวดำเนินการแบบแรก(ในข้อ 2)หรือตัวดำเนินการด้านคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operators) น่าจะใช้สำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตัวเลขตามเงื่อนไขต่างๆ เช่น โปรแกรมการคิดเงินเดือน โปรแกรมการตัดเกรดคะแนนสอบ โปรแกรมการคำนวณพื้นที่วงกลมและสี่เหลี่ยมพื้นผ้า(ในปฎิบัติที่ 3 ) เป็นต้น

-ตัวดำเนินการแบบที่สอง(ในข้อ 4)หรือตัวดำเนินการทางด้านการเปรียบเทียบ (Comparison Operators) น่าจะใช้การแปรียบเทียบ ซึ่งจะเปรียบเทียบนิพจน์ 2 นิพจน์ เพื่อทดสอบ หรือสร้างเงื่อนไข โดยจะให้ผลลัพธ์เป็นจริง (True) และเป็นเท็จ (False) มักจะใช้คู่กับตัวดำเนินการทางด้านตรรกะ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ
การบ้าน
ปฏิบัติการที่ 3 โปรแกรมภาษา PHP

ข้อ.4
Q:ให้ลองเพิ่มโค้ดให้แสดงผลในเบราเซอร์"ผมชื่อนาย Robert อายุ 25 ปี"โดยใช้ค่าตัวแปรในการแสดงผล









ข้อ. 7.

Q:ให้นิสิตเขียนโปรแกรมการคำนวณพื้นที่ศี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีความกว้าง 45 ความยาว 68 โดยให้นิสิตลองตั้งชื่อตัวแปรด้วยตนเอง แล้วให้ echo ผลออกมา












ข้อ.14

Q: ให้นิสิตลองเขียนโปรแกรมเพื่อคำนวณพื้นที่ของวงกลม และเส้นรอบวงของวงกลม โดยกำหนดให้ค่า PI=3.14159265 แล้วกำหนดตัวแรรัศมีเป็น 15 หน่วย



วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันที่14 พฤศจิกายน.."วันพระบิดาแห่งฝนหลวง"(ใครยังไม่ทราบลองมาอ่านดูนะค่ะ)

*****มีใครทราบบางค่ะ.....ว่าวันที่14 พฤศจิกายน เป็น"วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อนๆบางคนก็คงทราบกันบ้างแล้วแต่ก็ยังคงมีเพื่อนๆอีกหลายคนที่ไม่ทราบว่าวันนี้คือวันอะไร....เราจึงไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเพื่อจะได้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมแก่เพื่อนๆ ที่ยังไม่ทราบ.....



ความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง

*****โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และ เกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน


*****ตามที่ทรงเล่าไว้ใน จาก พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้


*****การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๒ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ - ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน ๑ ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้



*****เพื่อแสดงความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ที่มีต่อปวงชนชาวไทย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" และกำหนดให้วันที่ ๑๔ พฤศจิกายนของทุกปี เป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ให้ประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดี ชื่นชมในพระบารมี และร่วมกันถวายสดุดีเฉลิมพระเกียรติติดต่อกันไปทุกปี



วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

GIS Component



GIS Component



องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printer หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน

2. โปรแกรม คือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ

3. ข้อมูล คือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร

4. บุคลากร คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS

5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง





ที่มา http://www.gisthai.org/about-gis/compo-gis.html

Geographic Information System:GIS

กลับมาสู่การเขียนบล็อกอีกครั้ง.......ในภาคเรียนที่2
เราจะมาเริ่มต้นโดยจะเริ่มกล่าวถึงคำว่า Geographic Information System :GIS จากที่เราเรียนมาจะพบว่าความหมายของคำว่าGeographic Information System :GIS จะมีหลากหลายและซึ่งจะขึ้นอยู่กับผู้บัญญัติขึ้น จากการศึกษาค้นคว้าพอจะสรุปได้ว่า............

ความหมายของGeographic Informational System : GIS
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Informational System : GIS) คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์และเป็นชุดของเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพใช้เพื่อการรวบรวม จัดเก็บและนำเข้าข้อมูลและสารสนเทศหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ศึกษาออกมาใช้ปรับเปลี่ยนและการเตรียมข้อมูลในการวิเคราะห์ ตลอดจนเสนอผลลัพธ์โดยการแสดงผลของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นโลก ซึ่งอ้างอิงจากจุดพิกัดทางภูมิศาสตร์ ศึกษาความเหมาะสมในการวางแผนการใช้ทรัพยากรแต่ละชนิด เช่นข้อมูลพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร คือ ชุดดิน ลักษณะภูมิประเทศ ความลาดชัน ธรณวิทยา แหล่งน้ำ การกระจายของน้ำ การใช้ที่ดิน ชนิดพืชและการจัดการข้อมูลที่มีพิกัดแน่นอน นอกจากนี้ยังมีแผนที่ลายเส้น เช่น ถนน ทางน้ำ หรือเส้นระดับความสูง นำมาซ้อนทับ และวิเคราะห์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้วิเคราะห์ตัดสินใจได้โดยง่ายและรวดเร็ว

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

ไม่ค่อยมีเวลามาทำเลยอ่ะ......

ช่วงนี้ก็สอบ.....เดี๋ยวว่างจะแวะมาทำอีกค่ะ

วันนี้ข้อไปสอบวิชา Database ก่อนนะ...

เย็นนี้จะมาทำต่อนะ.....อิอิ
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย(Non-Spatial Data Analysis)
จะปฎิบัตได้ดังนี้

-การแก้ไขข้อมูลเชิงบรรยาย(Attribute Editing)
จะเป็นการวิเคราะห์ทางด้าน MIS เหมือนกับการวิเคราะห์ตามตาราง ตามกราฟ ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปในส่วนของ MIS ข้อมูลเชิงบรรยาย จะเป็นการลด การเพิ่ม และแก้ไขข้อมูลในตารางข้อมูลเชิงบรรยาย เป็นต้น

-การสอบถามข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Querying)
สำหรับการสอบถามข้อมูลนั้นจะการค้นคืนข้อมูลในตารางข้อมูลเชิงบรรยายตามเงื่อนไขที่กำหนด(การQuery)

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Database & GeoDatabase

Database & GeoDatabase

Database (ฐานข้อมูล) คืออะไร ?
คือระบบที่รวบรวมข้อมูลไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูล (File) ระเบียน (Record) และ เขตข้อมูล (Field) และถูกจัดการด้วยระบบเดียวกัน โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเข้าไปดึงข้อมูลที่ต้องการได้ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเปรียบฐานข้อมูลเสมือนเป็น electronic filing system

•บิต (bit) ย่อมาจาก Binary Digit ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ 1 บิต จะแสดงได้ 2 สถานะคือ 0 หรือ 1 การเก็บข้อมูลต่างๆได้จะต้องนำ บิต หลายๆ บิต มาเรียงต่อกัน เช่นนำ 8 บิต มาเรียงเป็น 1 ชุด เรียกว่า 1ไบต์ เช่น
10100001 หมายถึง ก
10100010 หมายถึง ข
•เมื่อเรานำ ไบต์ (byte) หลายๆ ไบต์ มาเรียงต่อกัน เรียกว่า เขตข้อมูล (field) เช่น Name ใช้เก็บชื่อ LastName ใช้เก็บนามสกุล เป็นต้น
•เมื่อนำเขตข้อมูล หลายๆ เขตข้อมูล มาเรียงต่อกัน เรียกว่า ระเบียน (record) เช่น ระเบียน ที่ 1 เก็บ ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ของ นักเรียนคนที่ 1 เป็นต้น
•การเก็บระเบียนหลายๆระเบียน รวมกัน เรียกว่า แฟ้มข้อมูล (File) เช่น แฟ้มข้อมูล นักเรียน จะเก็บ ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ของนักเรียน จำนวน 500 คน เป็นต้น
•การจัดเก็บ แฟ้มข้อมูล หลายๆ แฟ้มข้อมูล ไว้ภายใต้ระบบเดียวกัน เรียกว่า ฐานข้อมูล หรือ Database เช่น เก็บ แฟ้มข้อมูล นักเรียน อาจารย์ วิชาที่เปิดสอน เป็นต้น
การเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลจึงจำเป็นต้องมีระบบการจัดการฐานข้อมูลมาช่วยเรียกว่า database management system (DBMS) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูล ตามความต้องการได้ ในหน่วยงานใหญ่ๆอาจมีฐานข้อมูลมากกว่า 1 ฐานข้อมูลเช่น ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลสินค้า เป็นต้น

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Geographic Information System : GIS)


ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ หรือจะกล่าวอย่างง่ายๆก็ได้ว่าเป็นการจัดการฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้งเส้นแวงข้อมูลและแผนที่ในGISเป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูลและฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่(SpatialData) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลายจะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วยGISและทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ ใช้เป็นชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลรักษาข้อมูลและการค้นคืนข้อมูลเพื่อจัดเตรียมและปรับแต่งข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งานเช่นการแพร่ขยายของโรคระบาดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานการบุกรุกทำลายการเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ฯลฯข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย นำไปใช้งานได้ง่าย


GISเป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆสภาพท้องที่สภาพการทำงานของ ระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (SpatialData)ที่แสดงในรูปของภาพ(graphic)แผนที่(map)ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย(AttributeData)หรือฐานข้อมูล(Database) การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกันจะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆกันเช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ – ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะ ต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้นเช่นในCAD(ComputerAidDesign)จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียวแต่แผนที่ในGIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์คือค่าพิกัดที่แน่นอนข้อมูลในGISทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน ( รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์ ) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน
How to think Spatially

-Spatial Distribution การกระจายในเชิงพื้นที่ คือ การกระจายของปรากฎการณ์ต่างๆทั้งทางด้านกายภาพและทางสังคมที่ปรากฎในพื้นที่ต่างๆ เช่น การแจกกระจายประชากร พืช-สัตว์ ทรัพยากรธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ ความชุ่มชื้น ย่อมขึ้นอยุ่กับปัจจัยต่างๆของพื้นที่ที่มีอิทธิพลต่อปรากฎการณ์นั้น จึงกล่าวได้ว่าการกระจายของปรากฎการณ์ต่างๆ ในพื้นที่ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไปตามความแตกต่างของพื้นที่ นอกจากนั้นรูปแบบการกระจายของปรากฎการณ์ต่างๆ ยังแตกต่างกันไปตามกาลเวลาอีกด้วย

-Spatial Differentiation ความแตกต่างในเชิงพื้นที่ คือ พื้นที่ต่าง ๆ บนพื้นพิภพนี้จะต้องแตกต่างกันไปตามมิติ ตำแหน่งและที่ตั้งของพื้นที่นั้น ๆ พื้นที่จะแตกต่างกันแม้ว่าพื้นที่นั้นจะอยู่ใกล้กันหรืออยู่ติดกัน อัตราความแตกต่างจะมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ มนุษย์จำเป็นต้องศึกษาถึงความแตกต่างของพื้นที่ เพื่อที่จะได้ปรับตัวให้คล้อยตามสภาวะท้องถิ่นต่าง ๆ ที่มนุษย์อาศัยอยู่ หรือนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้หรือมีประสบการณ์จากพื้นแห่งหนึ่งมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตน

-Spatial Diffusion การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่อย่างมีรู้จุดเริ่มต้น พื้นที่หนึ่งที่มีการกระจายตัวทางทรัพยากรหรือการเผยแพร่วัฒนธรรมไปสู่บริเวณพื้นที่อื่น(การแพร่กระจายเริ่มต้นยังไงแล้วไปที่ไหน)-Spatial Interaction การปฎิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ ปฎิสัมพันธ์คือ ปฎิกริยาโต้ตอบแห่งความสัมพันธ์ของมนุษย์หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ของพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดการไหล(flow)ขององค์ประกอบของพื้นที่จากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง เหตุที่ทำให้เกิดการปฎิสัมพันธ์ก็คือความแตกต่างระหว่างพื้นที่ ปริมาณหรือขนาดปฎิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่จะมีมากน้อยอย่างไร ย่อมขึ้นอยุ่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปรากฎการณ์ในพื้นที่ที่มีปฏิสัมพันธ์กัน

-Spatial Interaction การปฎิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ ปฎิสัมพันธ์คือ ปฎิกริยาโต้ตอบแห่งความสัมพันธ์ของมนุษย์หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ของพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดการไหล(flow)ขององค์ประกอบของพื้นที่จากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง เหตุที่ทำให้เกิดการปฎิสัมพันธ์ก็คือความแตกต่างระหว่างพื้นที่ ปริมาณหรือขนาดปฎิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่จะมีมากน้อยอย่างไร ย่อมขึ้นอยุ่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปรากฎการณ์ในพื้นที่ที่มีปฏิสัมพันธ์กัน

-Spatial Temporal การเปลี่ยนแปลงของเวลาในเชิงพื้นที่ คือ ช่วงเวลาและสถานที่ในเชิงพื้นที่จะต้องเกี่ยวข้องกันเสมอ

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความแตกต่างระหว่างข้อมูล(Data)กับสารสนเทศ(Information)


ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลต้องถูกต้องแม่นยำครบถ้วนขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บ


ข้อมูลสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการนำข้อมูลดิบมาประมวลผลแล้วมีประโยชน์ในการช่วยตัดสินใจเช่น การคำนวณ การเรียงลำดับ


ความแตกต่างระหว่างข้อมูลเเละสารสนเทศข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว อาจเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่ต่างๆส่วนสารสนเทศคือการนำข้อมูลมาสรุปอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดชัดเจนกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์

ข้อมูล (Data) คือ ข้อความ หรือ ตัวเลขที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ข้อมูลจะบอกเกี่ยวกับสภาพการณ์หรือสิ่งที่ปรากฏขึ้นข้อมูลจะมีสภาพความเป็นข้อมูลอยู่เช่นนั้น ไม่ว่าจะมีการนำไปใช้หรือไม่


สารสนเทศ (information) เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการและการจัดการ
ข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย


ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย


องค์ประกอบของ GIS ( Components of GIS )องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printer หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน

2. โปรแกรมคือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ

3. ข้อมูลคือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร

4. บุคลากรคือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS

5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงานคือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของ